เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [12.ฌานวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์
ความเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ภาวะที่เคลือบแคลง ความคิดเห็น
ไปต่าง ๆ ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็น 2 แง่ ความเห็นเหมือนทาง 2
แพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถจะถือเอาโดยส่วนเดียวได้ ความคิดส่ายไป
ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถหยั่งลงถือเอาโดยเป็นยุติได้ ความกระด้างแห่งจิต
ความลังเลใจ นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา
วิจิกิจฉานี้ เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้พินาศไป
ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า ละวิจิกิจฉาได้แล้ว
[558] คำว่า เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว อธิบายว่า เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉานี้
คือ ข้ามขึ้น ข้ามออกถึงฝั่ง ถึงความสำเร็จตามลำดับ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว
[559] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า อยู่
คำว่า ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรม อธิบายว่า ไม่เคลือบแคลง ไม่สงสัย
ไม่มีความสงสัย หมดความสงสัย ปราศจากความสงสัยในกุศลธรรมด้วยวิจิกิจฉานี้
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรม
[560] ในคำว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา นั้น วิจิกิจฉา เป็นไฉน
ความเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ภาวะที่เคลือบแคลง ฯลฯ ความ
กระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
ภิกษุชำระจิตนี้ให้บริสุทธิ์ ให้ผุดผ่อง ให้หมดจด ให้หลุด ให้พ้น ให้หลุดพ้น
จากวิจิกิจฉานี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :401 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [12.ฌานวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์
[561] คำว่า ละนิวรณ์ 5 เหล่านี้ อธิบายว่า นิวรณ์ 5 นี้เป็นอันสงบ
ระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้พินาศไป ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือด
แห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ละนิวรณ์ 5
เหล่านี้
[562] คำว่า ที่เป็นเหตุทำให้จิตเศร้าหมอง อธิบายว่า นิวรณ์ 5 เหล่า
นี้เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง
[563] คำว่า ทอนกำลังปัญญา อธิบายว่า ปัญญาที่ยังไม่เกิดก็จะไม่เกิด
และปัญญาที่เกิดแล้วก็จะดับไป เพราะนิวรณ์ 5 เหล่านี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
ทอนกำลังปัญญา
[564] ในคำว่า สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย นั้น กาม เป็นไฉน
ฉันทะชื่อว่ากาม ราคะชื่อว่ากาม ฉันทราคะชื่อว่ากาม สังกัปปะชื่อว่ากาม
ราคะชื่อว่ากาม สังกัปปราคะชื่อว่ากาม เหล่านี้เรียกว่า กาม
อกุศลธรรม เป็นไฉน
กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา เหล่านี้เรียกว่า
อกุศลธรรม
ภิกษุเป็นผู้สงัดแล้วจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายดังกล่าวมานี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
[565] คำว่า มีวิตกวิจาร อธิบายว่า วิตกวิจารนั้นแยกเป็นวิตกอย่างหนึ่ง
วิจารอย่างหนึ่ง
ใน 2 อย่างนั้น วิตก เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ
นี้เรียกว่า วิตก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :402 }